วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โทษจากสารเสพติด

โทษจากสารเสพติด

การติดสารเสพติด ไม่ใช่ว่ามีผลเสียแค่ตัวเองคนเดียว ยังทำให้คนอื่นเดือดร้อนอีกด้วย โดยสามารถแยกได้ดังนี้


การสูญเสียด้านบุคลิกภาพและจิตใจ 
          เยาวชนย่อมมีบุคลิกภาพที่กำลังเจริญเติบโตมีการสร้างประสบการณ์ต่างๆ และหัดวิธีการและชั้นเชิงในการผจญปัญหาหรือกระทำการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาย่อมต้องอาศัยกระบวนการทางจิตหลายประการ เช่น ความอดกลั้น การควบคุมอารมณ์ การแสดงอารมณ์ตามความเหมาะสม การใช้ความคิดและประมาณการ  ตลอดจนการหาวิธีแก้ปัญหาให้เกิดผลดีที่สุด
          หากเยาวชนใช้และติดยาเสพติด โดยอาศัยเป็นทางหนีจากความทุกข์ยากหรือปัญหาต่างๆแล้ว บุคลิกภาพของผู้นั้นก็ย่อมหยุดเจริญ แทนที่จะหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม กลับหันไปใช้ยาแทน เยาวชนที่ติดยาจึงมีบุคลิกภาพใหม่ที่มีความอดทนน้อย ระแวง และหาความสุขจากชีวิตธรรมดาที่ไม่ใช้ยาเสพติดไม่ได้
          หากผู้นั้นได้ผ่านการรักษาหลายครั้ง  และเลิกได้ไม่นานก็ต้องกลับไปใช้อีก ความเชื่อมั่นในตนเองและความหวังว่าจะเลิกจากยาก็ค่อยๆหายไปทุกที
          หากผู้นั้นถูกจับและติดคุกหลายๆ ครั้ง ความกลัวคุกตะรางและการลงโทษต่างๆ ตลอดจนความไม่ดีในสายตาของสังคมก็ค่อยลดเสื่อมและชินชาไป  การติดคุกตะราง  หรือการถูกลงโทษทางกฎหมายกลายเป็นเรื่องเล็ก ค่านิยมของเขาก็เปลี่ยนไป  ความดีกับความชั่;ตามแนวคิดปกติก็เลือนไป ความสุขที่เกิดจากการกระทำความดีก็ถอยไป นับได้ว่าเป็นการเสื่อมสลายของสภาพจิต
          เมื่อเยาวชนคนหนึ่งคนใดติดยาเสพติด และมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขั้นนี้  ก็จะเป็นพลเมืองดีไม่ได้ ไม่สามารถใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้  กลับเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับตนเองครอบครัวและสังคม จึงนับว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สำคัญที่สุด 


การสูญเสียทางสุขภาพอนามัย 
          ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพอนามัย หรือโรคต่างๆได้หลายอย่าง ได้แก่
          ๑. การใช้ยาเกินขนาด โดยที่การด้านยาเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ผู้ที่พยายามเลิกยาหรือเข้ารับการรักษา  ความด้านยาจะลดลง ประกอบกับยาที่ได้จากการลักลอบค้าไม่ได้มีการควบคุมมาตรฐาน ความแรงอาจเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ  เพราะมีการเจือปนสารชนิดอื่นเข้าไปก่อนนำออกจำหน่าย ผู้ติดยาจึงอาจใช้ยาเกินขนาดและเป็นอันตรายได้  ยิ่งเป็นการใช้ยาที่ฉีดเข้าหลอดเลือดแล้วยิ่งมีโอกาสเกินขนาดได้มาก
          ยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทกลาง  เมื่อใช้เกินขนาดจะทำให้ไม่รู้สึกตัวไป  การหายใจลดลง และอาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ ในบางรายอาจเกิดการบวมของปอด ทำให้หายใจหอบและเสมหะเป็นฟองได้
          ๒. อาการจากการขาดยา อาการถอนยาที่เกิดขึ้นในผู้ติดยาบางคนที่ติดอย่างรุนแรงและสุขภาพไม่ดีอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดยานอนหลับ อาจเกิดอาการไข้สูง ชัก และไม่รู้สึกตัวได้
          ในบางรายอาจมีอาการถอนยาที่ปรากฏคล้ายโรคทางกาย เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเหมือนการอุดตันของลำไส้ ทำให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยวินิจฉัยผิดได้
          อาการถอนยาที่เกิดในเด็กแรกเกิด เนื่องจากมารดาติดยาเสพติด และใช้ยาในระยะก่อนคลอด จะทำให้เด็กไม่แข็งแรง หายใจน้อย และเสียชีวิตได้ง่าย
          ๓. พิษจากยาเสพติด ยาเสพติดบางชนิด เช่น แอมเฟตามีน กัญชา โคเคน และแอลเอสดี มีผลทำให้เกิดอาการทางจิตได้ บางรายอาจคลุ้มคลั่ง วิกลจริตไปเป็นระยะเวลานาน
          ยาแอมเฟตามีน  ทำให้เกิดอาการระแวงอย่างรุนแรง  คิดว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายจึงอาละวาด และทำร้ายผู้อื่นได้
          ในยาเสพติดที่ลักลอบขายกัน  อาจมีสารอื่นเจือปน  เพื่อให้ได้ปริมาณมากขึ้น เช่น สารหนู และสตริกนิน (strychnine) เป็นต้น ซึ่งเป็นยาพิษทำให้เป็นอันตรายได้
          ๔. อันตรายจากการฉีดยาที่ไม่สะอาด  ผู้ติดยาที่ใช้ยาฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ มักไม่ได้ทำความสะอาดหลอดฉีดยา ให้ปราศจากเชื้อเสียก่อนน้ำที่ใช้ละลายยาเพื่อฉีดก็ไม่สะอาด จึงอาจฉีดเอาเชื้อโรคต่างๆเข้าไปในร่างกายได้   ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง  และเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีด เกิดเป็นฝีหรือเนื้อตายได้อาจลุกลามเกิดการอักเสบของหลอดเลือดหรือโลหิตเป็นพิษได้ ในบางรายเชื้อโรคอาจเข้าไปยังอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด สมอง และกระดูก ทำให้เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ และฝีตามอวัยวะต่างๆ
          ผู้ที่ฉีดยาหลายคน อาจใช้เข็มฉีดยาร่วมกันทำให้โรคจากคนหนึ่งติดไปยังคนอื่นๆ ได้ เช่น โรคตับอักเสบ เป็นต้น ผู้ติดยามีอัตราการเป็นโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป และอาจเกิดการระบาดเป็นโรคทีละหลายๆ คนได้
          ๕. อันตรายจากการฉีดยาที่ไม่เหมาะสมเข้าร่างกาย ผู้ติดยาอาจใช้ยาเม็ดมาละลายน้ำ  ฉีดเข้าหลอดเลือด โดยไม่ทราบว่าในยาเม็ดมีแป้งพวกทัลคัม(talcum) อยู่ด้วย บางทีก็ใช้สำลีกรองน้ำยาก่อนจะใช้ฉีดแป้งและใยสำลีจะเข้าไปติดอยู่ตามหลอดเลือดฝอยของปอด  เกิดโรคปอดแข็งทำให้การหายใจลำบากเรื้อรังและไม่มีวิธีรักษา
          ในบางกรณียาอาจจะละลายไม่ดี มีเกล็ดหรือผลึกของยาเข้าไปในหลอดเลือด ไปอุดหลอดเลือดต่างๆ เช่น ที่สมอง เกิดเป็นอัมพาตได้
          ๖.  โรคบางชนิดที่พบร่วมกับการติดยาเสพติดผู้ติดยาเสพติด มักมีสุขภาพไม่ดี  อาหารไม่เพียงพอและการดูแลสุขภาพอนามัย  ตลอดจนการรักษาความสะอาดของร่างกายไม่ดี  จึงมีโรคต่างๆเกิดได้มาก เช่น วัณโรคของปอด โรคผิวหนังต่างๆ เป็นต้น
          มีผู้รายงานว่า  พบโรคบางชนิดร่วมกับการติดยาเสพติด โดยความสัมพันธ์และวิธีการเกิดยังไม่ได้เป็นที่เข้าใจชัดเจน เช่น โรคเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อละลายตัว (rhabdomyolysis) มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ขยับเขยื้อนลำบาก มีการสลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อทำให้มีสารไมโอโกลบินเข้าไปในเลือด และขับถ่ายออกไปในปัสสาวะ (myoglobinemia, myoglobinuria) เห็นเป็นปัสสาวะสีดำ
          โรคไตอักเสบ และโรคเส้นประสาทอักเสบ ก็พบได้ในผู้ติดยาเสพติด 


การสูญเสียทางเศรษฐกิจ 
          ๑. ค่าใช้จ่ายในการใช้ยา ผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องใช้จ่ายเงินในการซื้อยามาใช้  ยิ่งติดมากขึ้น  ยิ่งจำเป็นต้องใช้ปริมาณยามาก เพราะเกิดการด้านยาดังได้กล่าวแล้ว โดยเฉลี่ยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ผู้ที่ติดเฮโรอีนใช้เงินซื้อยาราววันละ ๕๕ บาท ซึ่งนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
          ผู้ที่สูบฝิ่น  หากมีฐานะไม่ค่อยดีนัก ก็จำเป็นต้องขายทรัพย์สมบัติต่างๆ  เพื่อใช้ในการสูบฝิ่น  จึงทำให้มีฐานะยากจนลง ผู้ที่ยากจนอยู่แล้วและต้องรับจ้างหาเงิน ยิ่งมีความลำบากในการยังชีพ และเลี้ยงดูครอบครัว
          หากพิจารณาการสูญเสียทั้งประเทศซึ่งมีผู้ติดยาอยู่มาก ผู้ติดยาเฮโรอีน ๑๐๐,๐๐๐ คน จะใช้ยามีมูลค่าถึงวันละ ๕.๕ ล้านบาท หรือปีละ ๒,๐๐๐ ล้านบาท
          ๒.  การขาดงาน ผู้ติดยาเสพติดบางคน อาจสามารถปรับการใช้ยาได้ และสามารถทำงานได้ตามปกติบางคนใช้ยาขนาดน้อยๆ ในเวลาเช้าและกลางวัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการถอนยาและสามารถทำงานได้ แล้วใช้ยามากในตอนเย็นหรือกลางคืน
          ผู้ติดยาส่วนใหญ่  เมื่อติดงอมแงมแล้วจะไม่สามารถทำงานได้ เพราะจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจที่ขัดกับการทำงาน  เมื่อใช้ยามากในเวลากลางวัน ก็มีอาการซึม สะลึมสะลือ ความคิดช้า ทำงานได้ลำบาก เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็เกิดอาการถอนยา  คือ  กระวนกระวาย และปวดเมื่อยตามตัว ฤทธิ์ของยาและอาการถอนยานี้เกิดสลับกันอยู่ทั้งวัน จนไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการไปหายามาเพื่อใช้ในคราวต่อไป และหาที่ซุกซ่อนเพื่อใช้ยาสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะรบกวนและขัดขวางการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพลดลง จนอาจต้องออกจากงาน
          ๓.  ค่าใช้จ่ายในการจัดการแก้ปัญหาของรัฐและเอกชน  ทั้งในด้านการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด  การให้บริการบำบัดรักษา และการป้องกันทำให้สูญเสียงบประมาณและทรัพยากรไปไม่น้อย



การสูญเสียทางสังคม 

          ๑. การเสียชื่อเสียง และฐานะทางสังคมของผู้ติดยา ผู้ติดยาย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม
          ๒.  ปัญหาในครอบครัว การติดยาเสพติดทำให้คนในครอบครัวได้รับความลำบากทั้งด้านจิตใจและฐานะการเงิน มีผลให้เกิดความแตกแยกในครอบครัวได้ดังจะเห็นได้ว่าผู้ติดยามีอัตราการหย่าร้างสูง
          ๓. ปัญหาอาชญากรรม ผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อยามาใช้ ประกอบกับความอยากยารุนแรง  ทำให้ขาดการยั้งคิด จึงเกิดอาชญากรรมต่างๆ ขึ้นได้  ในชุมชนใดที่มีผู้ติดยาเสพติดอยู่ โอกาสที่จะเกิดการลักขโมยมีมากขึ้น
          นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดอาจเป็นปัญหาทางการเมืองในประเทศ หรือระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้
แหล่งที่มา : 
การสูญเสียทางสังคม
          ๑. การเสียชื่อเสียง และฐานะทางสังคมของผู้ติดยา ผู้ติดยาย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม
          ๒.  ปัญหาในครอบครัว การติดยาเสพติดทำให้คนในครอบครัวได้รับความลำบากทั้งด้านจิตใจและฐานะการเงิน มีผลให้เกิดความแตกแยกในครอบครัวได้ดังจะเห็นได้ว่าผู้ติดยามีอัตราการหย่าร้างสูง
          ๓. ปัญหาอาชญากรรม ผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อยามาใช้ ประกอบกับความอยากยารุนแรง  ทำให้ขาดการยั้งคิด จึงเกิดอาชญากรรมต่างๆ ขึ้นได้  ในชุมชนใดที่มีผู้ติดยาเสพติดอยู่ โอกาสที่จะเกิดการลักขโมยมีมากขึ้น
          นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดอาจเป็นปัญหาทางการเมืองในประเทศ หรือระหว่างประเทศ และมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้


แหล่งที่มา : http://guru.sanook.com/encyclopedia/ผลเสียของการติดยา/

การแบ่งประเภทสารเสพติด

การแบ่งประเภทของสารเสพติด

1. ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท

1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย



2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น



 3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต

4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

2. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น

2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น


3. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5ประเภท คือ
1  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
3 ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น


ผลต่อร่างกายและจิตใจ 
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
        ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้

ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
        

สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
 1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ

 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น



วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด
กฎหมายแบ่งประเภทยาเสพติด  ในทางกฎหมาย สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด แม้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ก็ตาม เช่น บุหรี่ สุรา
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษ (มาตรา7) ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)
3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์
5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย

แหล่งที่มา : http://www.dek-d.com/board/view/2667672/